Officially Information Resources Collections

About NDD

Department of Agriculture

Disciplinary

Economics

Project Name

กลยุทธการส่งออกทุเรียน

Researcher Name

พิบูลย์ เจียมธนุกูลกิจ

Organization/source

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

Abstract

1. ข้อเท็จจริง ทุเรียนเป็นผลไม้เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทยที่มีมูลค่าการผลิตในแต่ละ ปีเกินกว่าหมื่นล้านบาทโดยมีการปลูกกันมากใน 14 จังหวัดของประเทศไทย สำหรับจังหวัดที่ มีการเพาะปลูกทุเรียนมากที่สุดได้แก่ จันทบุรี รองลงมา ระยอง ชุมพร ตราด เป็นต้น นอกจากทุเรียนจะมีความสำคัญในด้านการผลิตแล้วทุเรียนยังเป็นสินค้าส่งออกของไทยที่นำ เข้ารายได้เป็นเงินตราต่างประเทศในแต่ละปีเกินกว่าระดับพันล้านบาท และแนวโน้มการส่ง ออกทุเรียนนับวันจะมีบทบาทที่สำคัญมากยิ่งขึ้น สำหรับชนิดพันธุ์ทุเรียนที่นิยมปลูกมาก ได้แก่ หมอนทอง ชะนี ก้านยาว รวง และกระดุม เป็นต้น จากสภาพข้องเท็จจริงที่ได้กล่าว มาข้างต้นจะสามารถสรุปสาระสำคัญในด้านการผลิตและการตลาดได้ดังนี้ 1.1 ด้านการผลิต จะพบว่าปัจจุบันในปี 2539 มีพื้นที่เพาะปลูกทุเรียน 772,957 ไร่ และในพื้นที่ จำนวนดังกล่าวจะเป็นพื้เนที่เพาะปลูกที่ยังไม่ให้ผลผลิต จำนวน 263,010 ไร่ ดังนั้นผลผลิต ทุเรียนในอนาคตจึงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจึงจำเป็นต้องหาตลาดส่งออก เพื่อรองรับผลผลิต ทุเรียนที่เพิ่มมาจากพื้นที่เพาะปลูกที่ยังไม่ให้ผลผลิตในจำนวนดังกล่าว นอกจากนั้นแล้ว พื้นที่เพาะปลูกทุเรียนของไทยในอนาคตยังมีแนวโน้มของการขยายพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มสูงขึ้นด้วยเนื่องจากประเทศไทยมีสภาพภูมิประเทศที่มีความเหมาะสมต่อการเพาะปลูกทุเรียน จึง ทำให้ทุเรียนของไทยมีคุณภาพที่ดีที่สุดในโลก และมีชื่อเสียงในด้านการผลิต และเป็นแหล่ง ส่งออกทุเรียนคุณภาพของโลก ดังนั้นแนวโน้มที่เกษตรกรจะขยายพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มมาก ขึ้น จึงมีความเป็นไปได้สูง และคาดหมายได้ว่าในอีก 10 ปีข้างหน้าพื้นเพาะปลูกทุเรียนอาจจะ ขยายตัวสูงถึง 9 แสนไร่ เนื่องจากพื้นที่เหมาะสมในการปลูกทุเรียนจำนวนดังกล่าว ประกอบ กับสภาพภูมิประเทศเอื้ออำนวย และรายได้ดีกว่าการทำการเกษตรอื่นๆ ที่มักจะประสบปัญหา ราคาผลผลิตตกต่ำ 1.2 ด้านการตลาด จะพบว่าผลผลิตทุเรียนของไทยในปี 2539 ผลิตได้ 907,988 ต้น แต่ส่งออกได้ใน ปริมาณเพียง 71,335 ตัน หรือคิดเป็นสัดส่วนการส่งออกเพียงร้อยละ 8 ของปริมาณผลผลิตที่ ผลิตได้ ในขณะเดียวกันมูลค่าการส่งออกทุเรียนในปี 2539 คิดเป็นมูลค่า 1,202,282 และ 0.77 ล้านบาท ตามลำดับ ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ไต้หวัน ฮ่องกง มาเลเซีย สิงคโปร์แคนาดา เป็นต้น นอกจากตลาดส่งออกทุเรียนจะมีความแตกต่างในด้านผลิตภัณฑ์แล้ว ความหลากหลาย ของชนิดพันธุ์ทุเรียนจะมีส่วนกำหนดรูปแบบการบริโภค ซึ่งทำให้เกิดความยุ่งยากในการ พิจารณาความเหมาะสมที่พร้อมในการบริโภคทุเรียนที่มีความแตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม โอกาสขยายตลาดส่งออกทุเรียนของไทยมีคววมเป็นไปได้ค่อนข้างสูง 2. ปัญหาและอุปสรรค ทุเรียนเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของประเทศไทยและเป็นสินค้าส่งออกเป็น แหล่งนำเข้ารายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศและแนวโน้มการส่งออกในอนาคตคาดว่าจะสามารถขยายการส่งออกได้เพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากตลาดต่างประเทศที่บริโภคทุเรียนของไทยแล้วเกิดคความพึงพอใจในรสชาติ และมีความต้องการนำเข้าทุเรียนจากไทยเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม การส่งออกเทุเรียนยังมีความหลากหลายในกระบวนการแปรรูปหลังการเก็บเกี่ยว ซึ่งกระบวน แปรรูปดังกล่าวสามารถนำเข้ามาสู่กระบวนการเพิ่มมูลค่าได้อย่างมากมายตามรสนิยมของผู้ บริโภคในต่างประเทศที่มีควาวมแตกต่างกันอย่างหลากหลายและการส่งออกทุเรียนของไทยยังเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคในด้านการผลิตและการตลาดที่สำคัญ ได้แก่ 2.1 ปัญหาด้านการผลิต 1) การส่งเสริมเกษตรกรในด้านการผลิตยังมีอยู่ในวงจำกัดรวมทั้งเทคโนโลยีหลัง การเก็บเกี่ยว (Post Harvest Technology) ที่มีส่วนช่วยเพิ่มคุณภาพผลผลิต ควรมีการเผยแพร่แนะนำให้มีการปฏิบัติให้กว้างขวางตลอดจนกระบวนการแปรรูปผลผลิตและการบรรจุหีบห่อ (Packaging) ที่สอดคล้องกับรสนิยมของตลาดแต่ละแห่งยังขาดการศึกษาวิจัย 2) ขาดเครื่องมือในการตรวจวัดความอ่อน-แก่ของทุเรียน เพื่อให้ระบบการผลิต ความชัดเจนบ่งบอกความเหมาะสมของทุเรียนที่พร้อมบริโภค 3) ขาดองค์กรที่รับผิดชอบในการพัฒนาอุตสาหกรรมทุเรียนในแหล่งผลิต ที่สำคัญ 2.2 ปัญหาด้านการตลาด 3. โอกาสตลาดส่งออก 3.1 จีน 3.2 ฮ่องกง 3.4 ญี่ปุ่น 3.5 ตลาดสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป 4. ข้อเสนอแนะ 4.1 ข้อเสนอแนะด้านการผลิต 4.2 ข้อเสนอแนะด้านการตลาด

Picture

Detail (optional)

Copyright 2007 กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
50 ถ.พหลโยธิน ลาดยาว จตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทร. 0-2579-0151-8, 0-2940-6408 E-mail : itc@doa.go.th